านวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องคอนกรีต
ปัจจุบันคอนกรีตเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และจำเป็นในงานก่อสร้างทั่วไป คอนกรีตเป็นสารผสมที่ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์กับน้ำซึ่งเป็นวัสดุประสาน ทรายและหินเป็นวัสดุเฉื่อย คือไม่มีปฏิกิริยาเคมี มวลทั้งหมดเมื่อผสมแล้ว จะเริ่มก่อตัวในเวลา 1/2 - 2 ชั่วโมง และจะเริ่มแข็งตัวขึ้นเป็นลำดับจนถึงเวลา 28 วัน ซึ่งถือว่าคอนกรีตจะสามารถรับกำลังต่างๆได้เป็นอย่างดี ความแข็งแรงของคอนกรีตเปรียบได้กับศิลาที่ประดิษฐ์ขึ้น มีความแข็งแรง สามารถหล่อได้ในรูปลักษณะต่างๆตามแบบที่กำหนด คอนกรีตมีข้อเสียก็คือ จะต้องอยู่ในแบบหล่อ จนกระทั่งแข็งตัวอยู่ในชั้นที่เหมาะสม สำหรับในโครงสร้างที่ต้องต้านทานแรงดึง คอนกรีตจะต้องได้รับการเสริมกำลังด้วยเหล็ก เรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก
ส่วนประกอบของคอนกรีต (Basic Civil)
1. ปูนซีเมนต์
2. ทราย
3. หิน
4. น้ำ
วัตถุดิบที่ใช้ผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Basic Civil)
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ได้จากวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศ ซึ่งได้แก่
1. ปูนขาว (Lime) ได้จาก
1.1 หินปูน
1.2 ดินสอพอง
1.3 เปลือกหอย
1.4 ดินปูนขาว
2. ซิลิก้า (Silica) และอลูมิน่า (Alumina) ได้จาก
2.1 ดินเหนียว
2.2 หินเชล
2.3 หินชนวน
2.4 กากเตาถลุงเหล็ก
3. เหล็ก (Iron) ได้จากสินแร่เหล็ก (Iron Ore) ทั่วไป
4. ยิปซั่ม (Gypsum) เป็นตัวควบคุมเวลาของการก่อตัวของปูนซีเมนต์
กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
1. นำวัตถุดิบมาบดละเอียด แล้วผสมกับน้ำให้เข้ากันในอัตราส่วนที่พอเหมาะ
2. นำส่วนผสมป้อนเข้าเตาเผารูปทรงกระบอก ( Rotary Kilns ) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อเหล็กกลมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 - 25 ฟุต มีความยาว 300 - 700 ฟุต เตานี้จะวางเอียงลาดประมาณ 1/2 นิ้วต่อความยาว 1 ฟุต เชื้อเพลิงที่ใช้ ได้แก่ ถ่านหินบด แก๊ส น้ำมัน ฯลฯ อุณหภูมิที่เผาประมาณ 2700 ํ- 3000 ํ ฟ. ขณะเตาเผานี้จะหมุนไปด้วยเพื่อคลุกเคล้าวัตถุดิบให้ทั่ว
3. วัตถุดิบที่เผาแล้วจะได้ปูนเม็ด (Clinker) ปูนเม็ดที่เย็นตัวแล้วจะถูกนำไปผสมกับยิปซั่ม (Gypsum)
4. นำปูนเม็ดที่ผสมกับยิปซั่มแล้วเข้าบดละเอียดในโรงบดปูน (Cement Mill) จะได้ปูนซีเมนต์ผงละเอียด นำไปใช้งานต่อไป
ประเภทของงานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และเครื่องหมายการค้า พื้นฐานวิศวกรรม(Basic Civil) ที่เราต้องรู้คือ
สำหรับปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตได้ทดสอบ และได้รับตรารับรองจากสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม (ม.อ.ก. 15 เล่ม 1) และสามารถเทียบได้กับมาตราฐานอเมริกัน (ASTM = The American Society For Testing Material) และมาตราฐานของอังกฤษ (B.S = British Standard) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ( Ordinary Portland ) ได้รับตรารับรอง อ.ม.ก. 15 เล่ม 1 เทียบได้กับมาตราฐานอเมริกา ASTM C-50 Type 1 และมาตราฐานของอังกฤษ B.S 12 เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ต้องไม่เป็นงานพิเศษ เช่น งานคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพาน พื้นถนน เป็นต้น ปูนประเภทนี้ไม่ต้านทานกับพวกเกลือซัลเฟต ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตราช้าง ตราพญานาคเศียรเดียว
2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement )
เป็นปูนซีเมนต์ที่มีความต้านทานพวกเกลือซัลเฟตได้ดีกว่าชนิดแรก และเหมาะสมกับงานคอนกรีตในแถบอากาศร้อน เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะทำปฏิกริยากับน้ำต่ำ งานที่เหมาะสมกับงานคอนกรีตประเภทนี้ เช่น สร้างคลองส่งน้ำ เขื่อนกั้นดิน ตอม่อ ฐานราก ได้แก่
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ตราพญานาคเจ็ดเศียร
3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งตัวเร็ว ( High - Early Portland Cement ) ได้รับตรารับรองของ อ.ม.ก. 15 เล่ม 1 เทียบได้กับมาตราฐานอเมริกา ASTM
C 150 Type III และมาตราฐานอังกฤษ B.S. 12 เป็นปูนซีเมนต์ที่มีเนื้อละเอียดกว่าปูนซีเมนต์ธรรมดา มีประโยชน์สำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็ว หรือถอดแบบเร็ว เช่น เสาเข็มคอนกรีต เสาหรือคานที่ต้องการถอดแบบเร็ว ได้แก่ ปูนซีเมต์ปอร์แลนด์ตราเอราวัณ ตราพญานาคสีแดง และตราสามเพชร
4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดความร้อนต่ำ (Low - Heat Portland Cement ) เป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนต่ำในขณะก่อตัว ซึ่งเป็นการลดปริมาณการขยายตัว และการหดตัวภายหลังของคอนกรีต เหมาะสำหรับงานสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ประเทศไทยไม่มีผลิตออกขายทั่วไป จะผลิตให้กับผู้ที่สั่งโดยเฉพาะ
5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนเกลือซัลเฟตได้สูง (Sulfate - Resistant portland Cement ) ได้รับตรารับรองของ อ.ม.ก. 15 เล่ม 1 เทียบได้กับมาตราฐานอเมริกา ASTM C. 150 Type V เป็นปูนซีเมนต์ที่ต้านทานเกลือซัลเฟตได้สูง เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่แช่อยู่ในน้ำ ในบริเวณใกล้ทะเล หรือบริเวณที่มีดินเค็ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ต-แลนด์ตราปลาฉลาม
ส่วนปูนซีเมนต์ตราเสือ ตรานกอินทรีย์ ตรางูเห่า เป็นปูนซีเมนต์ที่นำเอาทรายหรือหินบดให้ละเอียดผสมเข้าไปในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ประมาณ 25 - 30 % ประเภทนี้เทียบได้กับมาตราฐานของอังกฤษ B.S 12 ผลิตขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติง่ายต่อการใช้งานคอนกรีต และประหยัด เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนน้อยในขณะทำปฏิกิริยาไม่ทำให้เกิดความแตกร้าวง่าย เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป เช่น สร้างบ้านอาศัย และใช้เป็นส่วนผสมของปูนฉาบปูนก่อได้ดี
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องทราย
ทรายเป็นวัสดุที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต และมอร์ต้า (Mortar ) ที่นำมาใช้ก่อหรือฉาบ ทรายได้จากการแตกตัวของหินก้อนใหญ่ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้ได้หินเม็ดเล็กๆ เรียกว่า ทราย ปัจจุบันเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเก็บทราย ได้แก่เรือดูดทราย สามารถนำทรายขึ้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
แหล่งที่เกิดของทราย (Basic Civil)
ทรายธรรมดามีแหล่งที่เกิดอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1. ทรายบก หรือทรายบ่อ (Pit Sand or Bank Sand ) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เกิดจากการแตกแยกเสียหายชำรุดของหินทราย (Sand Stone ) จะฝังอยู่ใต้พื้นดินเป็นแหล่งๆ ทรายชนิดนี้นิยมใช้มาก
ลักษณะของทรายบก มีลักษณะเป็นเหลี่ยม มีแง่มุมแข็งแรงดี เป็นทรายที่เหมาะแก่การผสมคอนกรีต เพราะการแทรกตัวของทรายจะทำให้เกิดช่องว่างของคอนกรีตลดน้อยลง
จะได้คอนกรีตที่ดี
ข้อเสีย ทรายบกนี้มักจะมีดิน ซากพืชซากสัตว์ปะปนอยู่ เวลาจะนำทรายไปใช้งาน
จะต้องล้างหรือทำความสะอาดทรายเสียก่อน จะด้วยวิธีใดก็ตาม ปัจจุบันเป็นทรายที่หาได้ยาก
2. ทรายแม่น้ำ ( River Sand ) ทรายชนิดนี้ถูกภัยจากปรากฎการทางธรรมชาติพัดพาหรือนำมาจากที่อื่น รวมตัวกันอยู่ในแถบราบลุ่ม ตามท้องแม่น้ำ ลำคลองปัจจุบันใช้ทรายชนิดนี้มาก เพราะหาได้ง่ายกว่าทรายบก
ลักษณะของทรายแม่น้ำ มีลักษณะกลมเกลี้ยงสะอาด เนื่องจากการพัดพาของน้ำ ทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับทรายตกหล่นระหว่างทาง นอกจากนี้ขณะที่ถูกพัดพามากับน้ำนั้น
เม็ดทรายจะเกิดการเสียดสีกันจนกระทั่งเป็นทรายที่มีลักษณะกลมเกลี้ยง
ข้อเสีย ลักษณะกลมเกลี้ยงของทรายแม่น้ำ ทำให้การประสานกับส่วนผสมของ
ปูนซีเมนต์ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เกิดช่องว่าง
ชนิดของทราย
ในวงการก่อสร้างทั่วไป ทรายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น ได้จากทรายแม่น้ำ มีอยู่
3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. ทรายหยาบ หรือที่เรียกว่า ทรายราชบุรี เป็นทรายเม็ดใหญ่ มีเหลี่ยม แง่มุม
แข็งแรงดี เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตที่ต้องการต้านทานกำลังสูง เช่น โครงสร้างสะพาน อาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานราก เขื่อนกั้นดิน เป็นต้น ทรายชนิดนี้จะมีเปลือกหอย และเศษหินปะปนอยู่ เวลาจะใช้ต้องนำไปร่อนด้วยตะแกรงทำความสะอาดเสียก่อน
2. ทรายกลาง หรือที่เรียกว่า ทรายอ่างทอง เป็นทรายที่มีขนาดปานกลาง ไม่หยาบและไม่ละเอียดนัก เหมาะสำหรับงานปูนทั่วไป เช่น นำมาเป็นส่วนผสมของปูนก่อ สำหรับ
ก่ออิฐ หรือใช้เทพื้นคอนกรีตที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก ทรายชนิดนี้เวลาจะใช้จะต้องร่อนเอาเปลือกหอยและสิ่งอื่นๆที่ไม่ต้องการออกเสียก่อน
3. ทรายละเอียด หรือที่เรียกว่า ทรายอยุธยา เป็นทรายเม็ดละเอียดมาก นำมาใช้กับงานที่ไม่ต้องใช้กำลังมากนัก เหมาะสำหรับนำมาเป็นส่วนผสมของปูนฉาบผิวหน้า ทำบัว ทำลวดลายต่างๆ ก่อนใช้จะต้องร่อนทรายเพื่อขจัดสิ่งต่างๆ ที่ไม่ต้องการออก
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องหิน
หินเป็นวัสดุก่อสร้างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะในงานก่อสร้าง นำหินมาใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสถานะทางธรรมชาติ
คุณสมบัติของหินที่ใช้ในงานคอนกรีต
- มีความแข็งแกร่งดีพอ
- มีผิวขรุขระ มีเหลี่ยม เพื่อให้ส่วนผสมที่เป็นปูนซีเมนต์ยึดเกาะและแทรกตัวอยู่ได้
- ต้องมีความสะอาด
- มีขนาดใกล้เคียงกัน
- มีความคงทนต่อปฏิกิริยาเคมี ทนทานต่อการขูดขีดและการสึกกร่อน
ขนาดของหินที่ใช้ในงานก่อสร้าง
หินที่นำมาใช้กันมากในงานก่อสร้าง ได้แก่ หินปูน ทั้งนี้เพราะหาได้ง่ายและราคาถูก ส่วนหินที่มีราคาสูงจะใช้กับงานที่สำคัญ ขนาดของหินในวงการช่างของประเทศไทย นิยมเรียกเป็นเบอร์ ดังนี้
1. หินฝุ่น มีขนาด 1/2 นิ้วลงไป ใช้ทำถนนลาดยาง
2. หินเบอร์ 1. “ 1/2 - 1 นิ้ว ใช้ผสมคอนกรีต
3. หินเบอร์ 2. “ 1 - 2 นิ้ว ใช้ผสมคอนกรีต
4. หินเบอร์ 3. “ 2 - 3 นิ้ว ใช้ผสมคอนกรีต
5. หินใหญ่ “ 4 นิ้วขึ้นไป ใช้ผสมคอนกรีต
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic civil) เรื่องน้ำ
น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต ทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เกิดการก่อและแข็งตัวเป็นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงได้ และยังมีอิทธิพลที่จะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง ทั้งเป็นตัวที่จะทำให้การก่อตัวของคอนกรีตช้าหรือเร็วขึ้นด้วย จึงนับได้ว่า น้ำมีความสำคัญไม่น้อยต่องานคอนกรีต
คุณสมบัติของน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต
น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากจากฝุ่นผง น้ำมัน กรดด่าง และสารอินทรีย์อื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตต่ำลง น้ำที่ใช้ควรจะเป็นน้ำจืด หรือน้ำประปา โดยเฉพาะในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ถ้าใช้น้ำเค็มจะทำให้เหล็กเป็นสนิม เกิดความเสียหายแก่งานได้
หน้าที่ของน้ำในงานคอนกรีต
ในงานคอนกรีตทั่วไป น้ำ มีหน้าที่สำคัญดังนี้ คือ
1. ล้างวัสดุผสม เพื่อทำให้วัสดุผสมสะอาด น้ำที่ใช้ควรจะมีสารต่างๆที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีตผสมอยู่ไม่มากนัก เพราะอาจจะทำให้วัสดุผสมผุกร่อน คอนกรีตแข็งตัวช้า หรือกำลังลดลง ฉะนั้นจึงควรเปลี่ยนน้ำที่ใช้ล้างวัสดุผสมอยู่บ่อยๆ อย่างปล่อยให้น้ำดำเป็นโคลน กลับทำให้วัสดุผสมสกปรกขึ้นด้วย
2. บ่มคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตแข็งตัวอย่างสมบูรณ์ น้ำที่มีสารต่างๆ เจือปนอยู่ อาจใช้ในการบ่มคอนกรีตได้ ข้อสำคัญน้ำที่ใช้จะต้องไม่ทำให้คอนกรีตเกิดรอยเปื้อน หรือเกิด
สีบนผิวของคอนกรีต
3. ผสมคอนกรีต น้ำทำหน้าที่เข้าไปผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย และหิน ให้เกิดความเหลวสามารถเทเข้าแบบหล่อได้ และยังเป็นตัวที่ทำปฏิกิริยาเคมีกับปูนซีเมนต์จะกลายเป็นวุ้น ซึ่งเป็นตัวประสานระหว่างเม็ดของวัสดุ ทำให้ก่อตัวยึดเกาะกันแน่นและแข็งแรงขึ้นเป็นลำดับ
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) การผลิตคอนกรีต
การผลิตคอนกรีตที่ถูกต้องนั้น จำเป็นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เป็นต้นว่า อัตราส่วนผสมของคอนกรีตจะต้องถูกต้อง วิธีการผสมจะต้องให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน การขนส่งคอนกรีตจะต้องกระทำโดยที่คอนกรีตไม่เกิดการแยกตัวของส่วนผสม และคอนกรีตจะต้องไม่ก่อตัวก่อนเท นอกจากนั้นการเทคอนกรีตสิ่งที่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเทก็ได้แก่ พื้นที่ที่จะเท แบบ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ฝังในคอนกรีต เมื่อเทคอนกรีตแล้วจะต้องทำให้คอนกรีตแน่น เพื่อจะได้รับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อแข็งตัว และหลังผิวของคอนกรีตแห้ง เพียงหมาดๆ ปราศจากรอยแล้ว จะต้องทำการบ่มคอนกรีต เพื่อไม่ให้น้ำในคอนกรีตนั้นระเหยออก ซึ่งจะเป็นผลที่จะทำให้คอนกรีตแข็งแรงไม่เต็มที่
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมการอัตราส่วนผสมของคอนกรีต
อัตราส่วนผสมของคอนกรีต ปกติจะบ่งโดยปริมาตรของการตวงอย่างหลวมๆ โดยไม่มีการอัดแน่น อัตราส่วนของคอนกรีตจะจัดเรียงอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ ต่อ ทราย ต่อ หิน เช่น คอนกรีต 1 : 2 ; 3 สัญลักษณ์มีความหมาย ดังนี้
คอนกรีต 1 : 2 : 3 หมายถึงคอนกรีตที่มีส่วนผสมกันโดยปริมาตร ดังนี้
- ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน
- ทราย 2 ส่วน
- หิน 3 ส่วน
- น้ำใช้ประมาณ 5 - 10 ลิตร ต่อ คอนกรีต 1 ลบ.ม.
การผสมคอนกรีต (Concrete Mixing )
การผสมคอนกรีตนั้น วิธีที่นิยมใช้มี ดังนี้
1. การผสมด้วยแรงคน ( Hand Mixing ) เป็นการผสมโดยใช้กำลังคนกระทำ โดยนำทรายเกลี่ยบนกะบะ แล้วนำปูนซีเมนต์ใส่เกลี่ยทับลงไปคลุกเคล้าจนเป็นสีเดียวกัน ต่อไปนำหินที่ล้างสะอาดดีแล้วเกลี่ยทับหน้าลงไป โดยเฉลี่ยความหนาให้ใกล้เคียงกันตลอด ต่อไปเริ่มผสมโดยใส่น้ำลงไปในส่วนใด คลุกเคล้าส่วนนั้นให้เข้ากัน เมื่อเข้ากันดีแล้วตักใส่ภาชนะนำไปเทที่ต่อไป จะพบว่าการผสมด้วยแรงคนเป็นการยากที่จะผสมให้เข้ากันได้ดี จะมีความข้นเหลวต่างกันเป็นจุดเสียของคอนกรีต
2. การผสมด้วยเครื่อง ( Machine Mixing ) ภายในเครื่องผสมจะมีแผ่นเหล็กกั้น (ใบพาย) เพื่อช่วยในการผสมคลุกเคล้าเข้ากันได้ดี เครื่องผสมมีอยู่หลายขนาดตาม
ความจุที่ต้องการ วิธีการผสมควรใส่หินและน้ำลงไปก่อน จากนั้นจึงค่อยเติมพวกทรายและ
ปูนซีเมนต์ลงไป เวลาที่ใช้ผสมประมาณ 1 - 3 นาทีต่อการผสม 1 โม่ผสม วิธีนี้ทำการผสมคอนกรีตเข้ากันอย่างทั่วถึง ได้กำลังของคอนกรีตสูงกว่าวิธีการผสมด้วยกำลังคน
การขนส่งคอนกรีต
การขนส่งคอนกรีตไปยังที่ทำงานนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่ผสมและจุดที่จะเท ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ดังนี้ คือ
1. จุดที่ผสมตั้งอยู่ในระดับเดียวกับจุดที่เท ใช้วิธีหาบ หรือใส่รถเข็น
2. จุดที่ผสมอยู่สูงกว่าจุดที่เท ใช้รางส่งคอนกรีตให้ไหลลงข้างล่าง
3. จุดที่ผสมอยู่ต่ำกว่าจุดที่เท ใช้คนยืนส่งเป็นทอดๆ หรือใช้โยน ใช้รอก และใช้ลิฟท์ส่ง
4. จุดที่ผสมอยู่ห่างจากจุดที่ต้องการเท ควรพิจารณาใช้คอนกรีตผสมเสร็จ (โม่ที่บรรจุบนรถบรรทุก) เพราะทำได้สะดวกและรวดเร็ว
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องการเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตนั้นมีหลักการพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
1. สำหรับงานคอนกรีตที่เทบนพื้นดิน จะต้องเตรียมพื้นรองรับให้ดีเสียก่อน โดยการเก็บสิ่งต่างๆ ที่ไม่ต้องการออกให้หมด ปรับพื้นที่ให้ได้ระดับและอัดให้แน่นก่อนเทจะต้องทำพื้นให้ชุ่มชื้นเสียก่อน เพื่อไม่ให้ดูดน้ำจากคอนกรีตที่เท ซึ่งอาจจะต้องให้ชุ่มลึกลงไปในดินประมาณ 10 - 15 ซ.ม.
2. สำหรับงานคอนกรีตที่เทในไม้แบบ จะต้องพรมน้ำไม้แบบให้ชุ่มก่อนเช่นกัน เพราะไม้แบบจะดูดน้ำจากคอนกรีต
3. สำหรับงานคอนกรีตที่มีอุปกรณ์ และสิ่งที่ติดแน่นในคอนกรีต จะต้องตรวจดูความเรียบร้อยก่อนเท เกี่ยวกับเรื่องของตำแหน่ง ระยะห่าง และขนาด
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมการอัดคอนกรีตให้แน่น ( Concrete Compaction )
คอนกรีตที่มีส่วนผสมที่ถูกต้อง มีการขนส่งที่ดี แต่ถ้าเทเข้าแบบแล้วจะไม่ทำให้คอนกรีตแน่นได้ คอนกรีตจะเป็นรูโพรงเนื่องจากการเทไม่เต็ม หรือมีฟองอากาศฝังตัวอยู่ภายในเนื้อคอนกรีต สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวทำให้กำลังของคอนกรีตลดต่ำลง คอนกรีตที่ผ่านการทำให้แน่นแล้ว ฟองอากาศในเนื้อคอนกรีตจะลดน้อยลง โดยเฉพาะในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก วิธีที่นิยมใช้กันอยู่ได้แก่
1. การกระทุ้งคอนกรีตด้วยมือ โดยใช้ไม้หรือเหล็กกระทุ้ง
2. โดนการสั่นหรือเขย่าคอนกรีต โดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ข้อสำคัญก่อนใช้เครื่องสั่นควรพิจารณาเกี่ยวกับความมั่นคงของแบบหล่อด้วย
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic engineering) เรื่องการบ่มคอนกรีต
การบ่มคอนกรีตหรือการรักษาคอนกรีต เป็นการควบคุมและป้องกันมิให้น้ำที่ผสมในคอนกรีต เพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ระเหยออก ถ้าน้ำแห้งไปก่อนกำหนดในระยะใด การแข็งตัวก็จะหยุดอยู่ในระยะนั้น และถ้าอยู่ในระยะเวลาที่มีความแข็งแรงไม่พอที่จะต้านทานการหดตัว
อันเนื่องมาจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงแล้ว อาจทำให้เกิดความเสียหายแตกร้าวได้ในเนื้อคอนกรีต หรือตามผิวคอนกรีต ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการบ่มคอนกรีตหลังจากผิวหน้าคอนกรีตแห้งหมาดๆ ระยะเวลาในการบ่มควรอยู่ในช่วง 7 - 14 วัน (ปูนซีเมนต์ธรรมดา) และ 28 วันเป็นการยอมรับว่าคอนกรีตแข็งแรงเต็มที่
วิธีการบ่มคอนกรีต มีอยู่หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพการ โดยเฉพาะของคอนกรีตที่สร้างขึ้น อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงวิธีการที่ถูกที่สุด และให้ผลดี เพื่อเป็นการประหยัดรายจ่าย วิธีบ่มคอนกรีตที่นิยมใช้กันมีดังนี้ คือ
1. การขังน้ำ เป็นวิธีการบ่มที่ให้ผลดี แต่ต้องใช้แรงงานในการก่อขอบดินเพื่อขังน้ำ และต้องมีน้ำเพียงพอขังอยู่ วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะงานบนพื้นที่ราบ เช่น พื้นถนน
พื้นทางเท้า เป็นต้น
การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม วิธีนี้ใช้ไดผลดีเช่นกัน อาจจะใช้ผ้าใบ กระสอบ ขี้เลื่อย ฟาง หรือวัสดุอมน้ำอื่นๆ คลุมให้ทั่ว คลุมทันทีที่คอนกรีตแข็งตัว แล้วรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลาของการบ่มอยู่ วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และสามารถคลุมได้ทั้งแนวราบและในแนวดิ่ง
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องวัสดุสำหรับก่อ
เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังกั้นห้อง หรือก่อกำแพงต่างๆ ปัจจุบันวัสดุสำหรับก่อนั้นมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ อิฐ และคอนกรีตบล๊อก การนำไปใช้นั้นต้องอาศัยปูนก่อและปูนฉาบเป็นตัวยึดเกาะ
วัตถุดิบที่ใช้ทำอิฐ
1. ดินเหนียว หรือดินโคลน
2. วัสดุอื่นๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง
ขั้นตอนการผลิตอิฐ
ในการผลิตอิฐนั้นเราแยกขั้นตอนต่างๆ ออกดังต่อไปนี้
1. ขั้นการเตรียมดิน ดินที่จะใช้ควรนำมาตากลมไว้ก่อนใช้ 1 - 2 เดือน จะทำให้ดินอ่อนนุ่มและเหนียวดียิ่งขึ้น ถ้าเป็นดินแข็งต้องนำเครื่องบดดินก่อนนำมาย่ำให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นใช้แกลบ หรือขี้เถ้า อย่างใดอย่างหนึ่งผสมในอัตราส่วนไม่เกิน 25 % เพราะถ้ามากกว่านี้จะได้อิฐเปราะไม่แข็งแรง
2. ขั้นขึ้นรูปแผ่นอิฐ ในขั้นนี้มีวิธีการทำอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
2.1 การทำด้วยแรงคน วิธีนี้จะต้องมีแม่พิมพ์ หรือแบบซึ่งอาจจะทำด้วยไม้หรือโลหะ เมื่ออัดดินลงไปในแบบแล้ว ใช้ไม้หรือมือปาดให้ด้านบนเรียบเสมอ แล้วจึงนำแบบออก (พื้นล่างจะใช้ขี้เถ้าเพื่อป้องกันอิฐติดกับพื้น) จากนั้นผึ่งอิฐให้แห้งหมาดๆ แล้วนำมาตบแต่งให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนำเข้าเตาเผาต่อไป
2.2 การทำด้วยเครื่อง วิธีนี้นำดินเหนียวใส่เข้าไปในเครื่องอัด เครื่องจะทำการอัดดินออกมาเป็นแท่งได้ขนาดเท่ากันทุกแผ่น มีผิวเรียบ นำไปผึ่งให้แห้งหมาดและแห้งด้วยอากาศ แล้วจึงนำเข้าเตาเผาต่อไป
3. ขั้นการผึ่งให้แห้ง ถ้านำอิฐที่ยังเปียกอยู่เข้าเตาเผาทันที ความชื้นที่ผิวจะออกเร็วเกินไป อาจทำให้อิฐแตกเนื่องจากการหดตัวเร็ว ฉะนั้นจึงต้องมีการผึ่งให้แห้งหรือแห้งเพียงหมาดๆ แล้วจึงนำเข้าเตาเผา
4. ขั้นการเผา นำอิฐที่ผึ่งแห้งหมาดเข้าเตาเผา โดยนำอิฐเข้าไปเรียงเป็นชั้นๆ อิฐที่นำเข้าเตาเผาครั้งหนึ่งๆ ประมาณ 5000 - 10000 ก้อน จากนั้นใช้แกลบคลุมอิฐทั้งหมดให้มิด แกลบทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงในการเผา ความร้อนจะเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงความร้อนสูงสุด และลดต่ำลงตามลำดับจนเย็นใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ แล้วจึงนำอิฐออกจากเตา
ลักษณะของอิฐที่ดี
1. มีรูปร่างเรียบร้อยดี ไม่แอ่นปิดหรือไม่มีขอบขรุขระมาก ทุกเหลี่ยมได้ฉาก
2. สุกสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
3. มีความเหนียวไม่แตกหักง่าย
4. มีขนาดโตเท่ากันทุกก้อน (โดยเฉลี่ย)
5. เมื่ออิฐหักออก จะเห็นเนื้อภายในคล้ายหินและแน่นมาก ไม่มีรูพรุน หรือรอยแตกร้าว
6. มีสีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น
7. ไม่ดูดน้ำเกิน 10 % ของน้ำหนักอิฐ เมื่อแช่น้ำไว้ 24 ชั่วโมง
8. เคาะฟังเสียงดู มีเสียงแกร่งคล้ายโลหะ
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เชนิดของอิฐ
ในงานก่อสร้าง อิฐที่นิยมใช้กันอยู่ได้แก่
1. อิฐประดับ เป็นอิฐที่ทำจากดินเหนียวโดยใช้เครื่องอัดให้เป็นรูปร่าง อิฐชนิดนี้มีเนื้อเรียบและแข็งแรงรับน้ำหนักได้ดี ใช้ก่อกำแพงโชว์ไม่ต้องฉาบปูน จะมีอักษรย่อบนแผ่นอิฐ เช่น บ.บ.ท. (บางบัวทอง) บ.ป.ก. (บางปะกง)
2. อิฐโปร่ง เป็นอิฐที่ทำจากดินเหนียว โดยใช้เครื่องอัดให้เป็นรูปร่าง เช่นเดียวกับ
อิฐประดับ แต่ตรงกลางแผ่นจะออกแบบให้เป็นช่องหลายช่อง เพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง อิฐชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบา แต่จะมีความแข็งแรงดี ใช้ในการก่อกำแพงต่างๆ
3. อิฐมอญ เป็นอิฐที่ทำจากดินเหนียวหรือดินโคลน ผสมกับแกลบ 10 % หรือขี้เถ้า อิฐมอญที่ขึ้นรูปด้วยแรงคนรูปร่างไม่ค่อยเรียบร้อยนัก นิยมกันมาก ราคาถูกเหมาะสำหรับก่อกำแพงอิฐที่จะต้องฉาบปูน ปัจจุบันได้มีการนำเครื่องจักรมาใช้ในการขึ้นรูป ทำให้ได้รูปร่างของอิฐที่เรียบร้อยขึ้น มีขนาดเท่ากันทุกก้อน ใช้ก่อผนังโชว์ได้
4. อิฐทนไฟ เป็นอิฐที่ทำจากดินเหนียวที่มีส่วนผสมของอลูมิน่า และซิลิก้า โดยใช้เครื่องอัดให้เป็นรูปร่าง เป็นอิฐที่ใช้ในการสร้างเตาต่างๆ เช่น เตาถลุงแร่ เตาหลอมโลหะ
อิฐทนไฟเป็นอิฐที่ทนความร้อนได้สูงมาก มีเนื้อละเอียดแน่นแข็งแรง
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil) เรื่องคอนกรีตบล๊อก
คอนกรีตบล๊อกเป็นวัสดุก่อสร้างอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่สนใจของช่างก่อสร้าง
ทั่วไป คาดว่าจะเป็นที่นิยมกันในโอกาสข้างหน้า เพราะการก่อสร้างด้วยคอนกรีตบล๊อกนั้น ง่ายแก่การก่อสร้าง กรรมวิธีไม่ยุ่งยาก ประหยัดเวลา สามารถเข้าใจและทำการสร้างได้สำหรับช่างก่อสร้างที่มีความชำนาญไม่มากนัก
วัตถุที่ใช้ผลิตคอนกรีตบล๊อก
1. ปูนซีเมนต์
2. หินย่อย
3. น้ำสะอาด
ขั้นตอนการผลิตคอนกรีตบล๊อก
ขบวนการผลิตคอนกรีตบล๊อกนั้นมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ขั้นผสมโดยการนำเอาส่วนผสมซึ่งได้แก่ ปูนซีเมนต์ และหินย่อย มาผสมคลุเคล้าให้
เข้ากัน ใช้น้ำผสมเพียงเล็กน้อย ถ้าผสมเหลวเกินไปเมื่ออัดเข้าแบบแล้วจะไม่เกิดการก่อตัว ถ้าข้นเกินไปจะร่วนไม่แข็งแรง ปัจจุบันการผสมจะใช้เครื่องจักรผสม ทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี
2. ขั้นขึ้นรูปโดยนำส่วนผสมใส่ในแบบที่เตรียมไว้ อัดส่วนผสมให้แน่น แล้วถอดแบบออกทันทีไม่ต้องรอให้แข็งตัวเหมือนงานคอนกรีต วันหนึ่งสามารถหล่อได้หลายสิบก้อน ถ้าต้องการผลิตจำนวนมากก็ควรสร้างแบบไว้หลายๆ อัน แบบอาจจะทำด้วยไม้หรือเหล็ก ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องจักรขึ้นใช้ ทำให้ผลิตได้เร็วยิ่งขึ้น (โดยใช้เครื่องเป็นตัวอัดส่วนผสมให้แน่นแทน)
3. จากนั้นนำคอนกรีตบล๊อกที่ถอดออกจากแบบไปผึ่งให้แห้ง ถ้าก้อนใดชำรุดก็สามารถนำไปขึ้นรูปใหม่ได้อีก (ก่อนที่จะแข็งตัว)
การนำคอนกรีตบล๊อกไปใช้ทำงาน
คอนกรีตบล๊อกเหมาะที่จะนำไปใช้กับงานก่อสร้างทั่วๆ ไป เช่น ผนังกั้นห้อง กำแพงกั้นดิน กำแพงรั้วบ้านต่างๆ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้คอนกรีตบล๊อก
1. ห้ามชุบน้ำ หรือสาดน้ำใส่ในระหว่างก่อคอนกรีตบล๊อก หรือในระหว่างฉาบผิวผนังที่ก่อด้วยคอนกรีต เพื่อป้องกันการยืด การหดตัวของคอนกรีตบล๊อก
2. เนื่องจากคอนกรีตบล๊อกมีน้ำหนักมาก ปูนก่อจึงต้องผสมให้ข้น ถ้าเหลวเกินไปโอกาสที่ก้อนคอนกรีตบล๊อกจะค่อยๆ ทรุดตัวลงเมื่อก่อชั้นบนขึ้นไป
3. ผนังที่ก่อด้วยคอนกรีตบล๊อก หรือได้ฉาบแล้ว ถ้านำอุปกรณ์สุขภัณฑ์หรือสิ่งใดๆ ติด ควรใช้สว่านเจาะรูแล้วฝังด้วยพุกพลาสติกแล้วขันให้แน่นด้วยตะปูควง
ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรม (Basic Civil)) เรื่องสีและการเคลือบผิว
สี ( Paints ) และสีเคลือบ ( Enamels ) มีความหมายดังนี้
สีเป็นวัสดุที่ใช้ทาหรือพ่นเพื่อซ่อนหรือปกปิดผิวไม้ ปูน โลหะทำให้มีความสวยงามขึ้น เช่น สีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน
สีเคลือบเป็นวัสดุที่นำมาเคลือบผิววัสดุให้มีความเงางามเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบใสๆมีความแข็ง ทนทาน เคลือบเงา
ประโยชน์ของสีที่นำมาใช้งานมีดังนี้
- ทำให้เกิดความสวยงาม สะอาดเรียบร้อย
- เพื่อป้องกันการกัดกร่อน การทำลายของเชื้อรา
- ใช้อุดรอยขีดข่วน หลุมลึกบนผิวงาม
- ป้องกันความชื้นในเนื้อวัสดุ ป้องกันจากสภาพอากาศ ฝน แดด
- เป็นสัญลักษณ์ต่างๆเช่น เครื่องหมายเตือนภัยต่างๆ
ส่วนประกอบของสีมี 3 ส่วนได้แก่
- เนื้อสีเนื้อผงสี
- เรซิน
- ตัวทำละลาย
ตัวทำละลาย ( Solvent )มีคุณสมบัติดังนี้
ของเหลวที่ช่วยผสมกับสีเพื่อให้สีเจือจาง ไม่ข้นหรือหนืดเกินไปเพื่อความสะดวกในการพ่นหรือทาลงบนผิวงาน ได้แก่ ทินเนอร์ น้ำมันสน น้ำ
ชื่อของสีและสีเคลือบที่ใช้งานโดยทั่วไปมีดังนี้
สีน้ำพลาสติก ชแล็ค สีน้ำมัน วานิช สีรองพื้น สีน้ำ แลกเกอร์ ยูรีเทน
เครื่องมือและอุปกรณ์งานสีที่เป็นหลักในการทำงานได้แก่
แปรงทาสี กระป๋องผสมสี ลูกกลิ้งทาสี บันไดปืนพ่น นั่งร้าน เกรียงขูด-โป๊สี
แปรงทาสีมี 3 ชนิดดังนี้ พร้อมลักษณะของแปรงทาสีและการใช้งาน
1. แปรงทาสีน้ำมัน
ทำมาจากขนหมูปัจจุบันใช้ไนลอนแทนเนื่องจากมีความคงทนต่อการสึกหรอมากกว่าแปรงที่ดีต้องเป็นเส้นตรงไม่แตกกระจายและมีสปริงในตัวยืดหยุ่นดีเวลากดลงที่ฝ่ามือใช้งานโดยทั่วไป
2. แปรงทาน้ำมันชักเงา
ใช้ในงานทาแชลแลค วานิช แลคเกอร์ ยูรีเทนและน้ำมันเคลือบเงาต่างๆขนแปรงนุ่มลงละเอียดอ่อนทำจากขนอูฐ
3. แปรงดอกหญ้า
ทำมาจากดอกหญ้าชนิดเดียวกับไม้กวาด ใช้งานทาสีได้ทุกชนิดที่ไม่มีน้ำมันผสม เช่น สีน้ำปูน สีน้ำและสีน้ำพลาสติก
กระดาษทรายมี 2 ประเภทได้แก่ พร้อมลักษณะและการใช้งาน
- กระดาษทรายขัดแห้ง ใช้ขัดวัสดุชิ้นงานที่เป็นไม้และห้ามโดนความชื้นเพราะกระดาษทรายทำด้วยเม็ดทราย กาวและกระดาษ
- กระดาษทรายน้ำ จะใช้น้ำหรือน้ำมันขัดถูมาร่วมในการขัดด้วยจึงสามารถขัดได้อย่างรวดเร็วและปราศจากรอยขีดข่วนใช้ขัดโลหะ
การเก็บและการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์งานสีที่ถูกต้องมีดังนี้
สีและสีเคลือบจะต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยงและเปลวไฟบริเวณที่เก็บจะต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดีพอสมควร หากมีสีหกบนพื้นต้องเช็คทำความสะอาด กระป๋องสีใช้แล้วต้องปิดฝาให้สนิท การใช้งานต้องแยกสีมาผสมด้านนอก ห้ามผสมลงในกระป๋องสีหากใช้ไม่หมดสีจะไม่เสียใช้ไม่ได้ ส่วนแปรงและลูกกลิ้งล้างให้สะอาดก่อนเก็บเข้าที่
ความรู้สึกในเชิงจิตวิยาและในเชิงสัญลักษณ์ของสีดังต่อไปนี้
- สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน ต่อสู้ อันตราย แทนสัญลักษณ์ ความรัก โชคดี
- สีเขียว ให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย ปลอดโปร่ง ปลอดภัย
- สีเหลือง ให้ความรู้สึกสดใส มีค่า แทนสัญลักษณ์ ทองคำ พระสงฆ์ ความห่วงใย
- สีฟ้า ให้ความรู้สึกกว้าง โปร่งใส แทนสัญลักษณ์ ความสบาย ท้องฟ้า
- สีขาว ให้ความรู้สึกสะอาด บริสุทธิ์ แทนสัญลักษณ์ ผู้ทรงศีล เด็กแรกเกิด
- สีดำ ให้ความรู้สึกหดหู่ ความเศร้า ความตาย
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้
ตอบลบภฺวิศ พระจางวาง
ตอบลบSands Casino: Welcome Bonus, Slots, & Table Games
ตอบลบExplore our 카지노 Casino games, slots septcasino and live table games, including Blackjack, Roulette, Craps, Poker and 1xbet korean more in Las Vegas. Play for real!